30 December 2011

add font on linux

/usr/share/fonts/truetype

แล้วสร้าง directory  ที่ต้องการ แล้วก็ copy จาก windows  มาวางได้เลยครับ *.ttf

27 December 2011

How to install wmii on Ubuntu

If you don't have xorg installed, you should first install it:
 
aptitude install xserver-xorg xterm xinit


For wmii, you need the following package:
 
aptitude install wmii
 
 

19 December 2011

How to install tools essential in Ubuntu Server

เมื่อติดตั้งใหม่ต้องทำไรบ้าง โดยพื้นฐาน

กำหนดรหัสให้กับ Root โดยคำสั่ง  sudo passwd root

เปลี่ยน Sourcelist ให้ชี้ไปที่ Server ในไทย



sources.list จาก mirror1.ku.ac.th

sudo wget "http://mirror1.ku.ac.th/apt-ubuntu/11.10/sources.list"

ไปทับไว้ที่  /etc/apt/sources.list

จากนั้นให้ทำการ add key ให้กับ Server

how to install Ubuntu 11.10 Apt-get Update GPG Key Errors and Fix



จากนั้นก็จะสามารถ update , และ upgrade ได้สบาย

apt-get update
apt-get dist-upgrade


Tools Editor :: Vi น่าจะรู้จักกันดีนะครับ

sudo apt-get vim

ศึกษาคำสั่งต่างๆได้จาก http://www.lagmonster.org/docs/vi2.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------
กรณีที่เครื่องเราไม่ support thai language

$sudo apt-get install xfonts-thai

know how history command Linux

ถ้าต้องการค้นหา history Command หรือคำสั่งที่เราใช้ไปแล้วกลับมา สั่งอีกครับ

กด Ctrl+R แล้วตามด้วย work ที่เป็นเอกลักษณ์ของคำสั่งคำนั้น

ถ้าต้องการ print history Command ออกมาดูก็ให้พิมพ์คำสั่ง   history | less 
อยากได้คำสั่งไหน ก็ พิมพ์ !xx   xx คือหมายเลขลำดับของคำสั่งนั้นๆ

ถ้าต้องการ Clear history ก็พิมพ์คำสั่ง  history -c

ถ้าอยากเก็บ ใส่ File Text ก็ได้    คำสั่ง  history > file_name.txt

know how Permissions (chmod)

Type of Permissions

1 2 4 : binary based
1 = 2^0 = x (executable)
2 = 2^1 = w (writable)
4 = 2^2 = r (readable)



Type of Users

3 ตัวแรกหมายถึง เจ้าของ  =  u (user)
3 ตัวที่สองหมายถึง กลุ่ม  =  g (group)
3 ตัวที่สามหมายถึง คนอื่น  =  o (other)

Changing permissions with chmod
chmod type+permission file
chmod type-permission file


เราจะกำหนดแบบไหนก็แลกเอานะครับ
ไม่ว่าจะเป็น
chmod 755 file
chmod  +x file


มีประโยชน์กันคนละอย่างครับ

18 December 2011

How to install Java-sun jdk on Ubuntu

 Run Terminal ขึ้นมาก็จัดการเลยครับ 

เอา packet openjdk ออก นะครับ ถ้ามี

sudo apt-get purge openjdk* 

ให้ไป download ไฟล์  jdk-6u26-linux-x64.bin จาก www.oracle.com แล้ว Upload ขึ้นไป Server
asmix@webserver01:/$ chmod +x jdk-6u26-linux-x64.bin
asmix@webserver01:/$ ./jdk-6u26-linux-x64.bin


เสร็จแล้วก็ ทำการ Set Variable JAVA_HOME,PATH ซะจาก
asmix@webserver01:/$ mv  โฟล์เดอร์ที่แตกออกมา /opt/java
asmix@webserver01:/$ cd /opt/java
asmix@webserver01:/$ export JAVA_HOME=`pwd`
asmix@webserver01:/$ export PATH=$JAVA_HOME/bin:$PATH
asmix@webserver01:/$ cd  /
asmix@webserver01:/$ java -version 


จากนั้นลอง พิมพ์ java , javac ลองดูว่ามีผลลัพธ์เป็น help?? parameter 

15 December 2011

DNS Information

DNS Information ในส่วนของ DNS Record Type มีดังนี้
ในกรณีที่ใช้  nslookup
Record SOA ( Start of Authority)  ใช้คำสั่ง Set type=soa
                จะเป็นแบบ 4 คอลัมน์ และเป็นข้อมูลส่วนแรกที่กำหนดการทำงานของเนมเซอร์ฟเวอร์ อย่างเช่นจะได้ผลออกมาดังนี้

ru.ac.th

        primary name server = runs1.ru.ac.th
        responsible mail addr = preecha.ram1.ru.ac.th
        serial  = 2011120710
        refresh = 3600 (1 hour)
        retry   = 900 (15 mins)
        expire  = 1209600 (14 days)
        default TTL = 43200 (12 hours)
runs1.ru.ac.th internet address = 202.41.160.111




ซึ่งจะเห็นว่า มีเรคอร์ดกำหนดชื่อโดเมน ru.ac.th และให้ชื่อเนมเซอร์ฟเวอร์(primary name server)คือ runs1.ru.ac.th โดยมีอีเมลล์ของผู้ดูแลระบบ(responsible mail addr)คือ preecha@ram1.ru.ac.th (DNS จะแปลงจุดที่ตำแหน่งแรกเป็น “@”)
ในส่วนต่อมาเป็นระยะเวลาที่กำหนดว่าเนมเซอร์ฟเวอร์นี้กับสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์และเนมเซอร์ฟเวอร์อื่นนอกโซนจะมีช่วงจังหวะการทำงานร่วมกันเท่าไร เพื่อให้ข้อมูลที่ให้บริการมีการอัพเดตการเปลี่ยนแปลง ค่าทั้งหมดประกอบด้วยเลข 5 ชุด
serial  = 2011120710
                                                                
ค่าแรกเป็นเลขลำดับ ( Serial number )แปลงจุดที่ตำแหน่งแรกเป็น ือ ่กำหนดการทำงานของเนมเซอร์ฟเวอร์ อย่างเช่น
 ซึ่งใช้กำหนดรุ่นของฐานข้อมูล เลขที่มากจะแสดงถึงฐานข้อมูลที่ปรับปรุงครั้งหลัง ทั้งมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะมีค่าเลขนี้ประจำตัว หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์พบว่าเลขลำดับในมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์มากกว่าเลขลำดับของตนเอง แสดงว่ามีการปรับปรุงข้อมูลที่มาสเตอร์ สเลฟก็จะต้องถ่ายโอนข้อมูลใหม่ไป
ตัวเลขลำดับเป็นเลขชนิดไม่มีเครื่องหมายขนาด 32 บิต เริ่มต้นได้จาก 0 ผู้ดูแลระบบจะต้องปรับเลขลำดับเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ปรับปรุงข้อมูล มิฉะนั้นสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะไม่อ่านค่าจากมาสเตอร์เนมเซอร์ฟ เวอร์ การปรับค่าอาจเพิ่มขึ้นครั้งละเท่าใดก็ได้ตามความเหมาะสม แต่เทคนิคที่นิยมใช้คือใช้รหัส ปี-เดือน-วัน- รุ่น เป็นเลขลำดับ เช่นจากตัวอย่างคือ 2011120710 หมายถึงปรับปรุงครั้งที่ 10 ของวันที่ 07/12/2011

  refresh = 3600 (1 hour)

ค่า Refresh ใช้กำหนดว่าสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะต้องกลับมาอ่านข้อมูลจากมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเซอร์เพื่อปรับข้อมูลของตัวเองบ่อยเพียงใด ตัวเลขมีหน่วยเป็นวินาที ในกรณีนี้คือ 3600 วินาทีหรือ 1 ชั่วโมงนั้นเอง

 retry   = 900 (15 mins)

ค่า retry หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์ได้ตามที่กำหนดโดยค่า Refresh แล้ว ให้สเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์พยายามทุกๆ Retry วินาที เช่นตัวอย่าง พยายามติดต่อทุกๆ 15 นาที

expire  = 1209600 (14 days)


ค่า expire หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์เป็นระยะเวลา expire วินาที สเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ต้องถือว่าข้อมูลที่มีอยู่หมดอายุลง เนมเซอร์ฟเวอร์จะไม่ให้บริการข้อมูลที่หมดอายุออกไปภายนอก


 default TTL = 43200 (12 hours)

ค่า TTL (Time to Live ) เป็นการกำหนดค่าเซอร์ฟเวอร์ใดที่ได้รับบริการข้อมูลไปแล้ว ให้รักษาไว้ตามค่า TTL และจึงยกเลิกข้อมูลนั้น ดังตัวอย่างก็ 12 ชั่วโมงนะครับ

runs1.ru.ac.th internet address = 202.41.160.111


เป็นการบอกชื่อของเนมเซอร์ฟเวอร์และก็ IP Address ของเซอร์ฟเวอร์

Record NS ใช้คำสั่ง Set type=ns
                เรคอร์ดนี้ใช้กำหนดชื่อเซอร์ฟเวอร์ซึ่งมีสองเครื่องอย่างเช่นว่า ผลลัพธ์มีการแสดงดังนี้

ru.ac.th        nameserver = runs2.ru.ac.th
ru.ac.th        nameserver = runs1.ru.ac.th

Record MX  ใช้คำสั่ง Set type = mx
                เรคอร์ดนี้ใช้กำหนดชื่อเซอร์ฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนอีเมล (mail exchanger) จากตัวอย่างการแสดงผลลัพธ์ต่อไปนี้
      
ku.ac.th        MX preference = 10, mail exchanger = mailgw2.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 20, mail exchanger = mailgw3.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 30, mail exchanger = nontri.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 5, mail exchanger = mailgw1.ku.ac.th

     หมายถึงโฮสต์ทั้งหมดนี้ที่แสดงออกมา จะทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งเมลล์ประจำโดเมน  ตัวเลขที่กำกับว่า MX preference = XX จะเป็นค่าความสำคัญ เลขยิ่งน้อยจะมีลำดับความสำคัญมากว่าเลขเยอะ ค่าลำดับความสำคัญจะมีค่ามากสุดคือค่า 0  ดังนั้นโฮสต์ mailgw1.ku.ac.th จะเป็นเครื่องหลักที่ให้บริการแลกเปลี่ยนเมลล์เป็นอันดับแรก หากไม่สามารถขอบริการจาก mailgw1.ku.ac.th ให้ติดต่อ mailgw2.ku.ac.th เป็นลำดับต่อไปเรื่อยๆตามลำดับความสำคัญ ค่าลำดับความสำคัญของโฮสต์นั้นเป็นค่าแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นถ้ากำหนดให้ ค่าความสำคัญระหว่าง mailgw2.ku.ac.th เป็น 10 และ mailgw3.ku.ac.th เป็น 20 จะไม่แตกกับการกำหนดให้ เป็น 1 และ 2 เป็นต้น

Record A  ใช้คำสั่ง Set type = a
                เรคอร์ด A (Address) ใช้กำหนด IP Address ประจำโฮสต์ จากตัวอย่างเช่นการกำหนดใน File Config ในเครื่อง DNS Server นะครับ

eng.ru.ac.th        IN           A             202.41.164.196
ku.ac.th             IN           A             158.108.216.5
www.ru.ac.th      IN           A             202.41.160.22


Record HINFO  
                
เรคอร์ด HINFO ( host information) ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับโฮสต์นั้นโดยแยกออกเป็นสองฟิลด์ย่อย ผู้ดูแลเซอร์ฟเวอร์อาจใส่ชนิดของเครื่องและระบบปฏิบัติการที่ใช้งานภายใต้ฟันหนูปิดหัวท้ายทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น

IN           HINFO                  “SPARC 1000”                   “Solaris 2.5”

                เนื่องจากฟิลด์ซ้ายสุดในเรคอร์ดนี้ไม่ได้กำหนดชื่อโฮสต์ เซอร์ฟเวอร์จะตีความหมายโดยอาศัยชื่อจากเรคอร์ดติดกันที่อยู่ด้านบนอย่างเช่น

ku.ac.th                 IN           A             202158.108.216.5
                            IN           HINFO  “SPARC 1000”                   “Solaris 2.5”

Record CNAME
                เรคอร์ด CNAME ( Canonical Name) เป็น Record ประเภทชื่อเสมือน Alias Record  ปกติแล้ว CNAME จะถูกใช้ในการสร้าง SubDomain ใน Server เครื่องหนึ่งๆ อาจจะทำหน้าที่อย่างเช่น เป็น Web Server ด้วยเป็น FTP Server ด้วยและเป็น Mail Server ด้วยเช่นนี้ การกำหนดชื่อและหลายเลข IP ก็จะต้องทำหลายบรรทัด หากเปลี่ยนหมายเลข IP Server  ก็ต้องเปลี่ยนชื่อใน DNS ให้ตรงกับเครื่องใหม่ ในกรณีนี้จะเห็นประโยชน์ของ CNAME Record ทันทีตัวอย่างเช่น domain strumjub.com

   www.strumjub.com.           IN           A             172.16.1.1
   ftp.strumjub.com               IN           A             172.16.1.1
   mail.strumjub.com             IN           A             172.16.1.1
   ns1.strumjub.com              IN           A             172.16.1.1

แต่ถ้าใช้ CNAME จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากขึ้น
server1.strumjub.com       IN           A             172.16.1.1
www.strumjub.com.         IN           CNAME               server1.strumjub.com
ftp.strumjub.com               IN           CNAME               server1.strumjub.com
mail.strumjub.com            IN           CNAME               server1.strumjub.com
ns1.strumjub.com              IN           CNAME               server1.strumjub.com
จากข้างต้นเมื่อเราต้องการเปลี่ยน IP Server ก็เปลี่ยนแค่จุดเดียวเท่านั้น

Record PTR
                เป็นเรคอร์ดที่ใช้ในแฟ้มที่ใช้เก็บข้อมูลการแปลงจากไอพีไปเป็นชื่อโดเมน โดยมีโครงสร้างอื่นทั่วไปคล้ายกับเรคอร์ดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
        202.41.164.196  IN           PTR       eng.ru.ac.th
158.108.216.5     IN           PTR       ku.ac.th
202.41.160.22     IN           PTR       www.ru.ac.th


Record RP (The Responsible Person record)
                เป็นเรคอร์ดที่บันทึกข้อมูลของบุคคลที่รับผิดชอบ ระบุชื่อหรือกลุ่มของผู้รับผิดชอบสำหรับโฮสต์ กำหนดไว้เพื่อที่จะสามารถระบุองค์กรที่รับผิดชอบในโฮสต์ เมื่อเกิดกรณีที่โฮสต์มีปัญหาหรือชำรุด ซึ่งเอาเรคอร์ดนี้มาดูเพื่อที่ต้องการติดต่อกับบุคคลหรือกลุ่มผู้รับผิดชอบเพื่อให้สามารถมาแก้ปัญหานี้ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้
owner    {ttl}   addr-class    RP  mbox-domain-name   TXT-domain-name
franklin    IN     RP   ben.franklin.berkeley.edu.   sysadmins.berkeley.edu.

Record SRV (Service record)
                เป็นเรคอร์ดที่เป็นการบันทึกการให้บริการ เป็นข้อกำหนดของใน ระบบชื่อโดเมน ที่กำหนดสถานที่เช่น ชื่อ host และ หมายเลขพอร์ต ของเซิร์ฟเวอร์สำหรับการให้บริการที่ระบุไว้  ที่กำหนดจากมาตรฐาน RFC 2782 โดยมี code type เป็น 33  โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Session Initiation Protocol (SIP)  และ  Extensible Messaging and Presence Protocol  Presence (XMPP)   ซึ่งในระบบนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจาก SRV เป็นองค์ประกอบของเครืยข่าย

Why Security ? people , process , Technology

We have to Secure :: The People , The Technology , The Processes.
ทำไมเราต้องทำ Security ให้กับคน (people), กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology)

                       หลักการในการรักษาความปลอดภัยนั้นคือการรักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 3 อย่างคือ ความลับ (confidentiality), ความถูกต้อง (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ส่วนการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องพึ่งองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ คน(people) , กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) โดยกระบวนการนั้นจะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยง แล้วกำหนดมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง(Risk) ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ การที่ระบบใดระบบหนึ่งจะมีความปลอดภัยนั้นจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมการเข้าถึง การปกปิดความลับของข้อมูลที่ดีที่สุดคือการเข้ารหัสข้อมูล(Encryption) ซึ่งเฉพาะผู้มีคีย์ (Key) เท่านั้นถึงจะเข้าถึงเนื้อหาของข้อมูลได้


                แล้วทำไมเราต้องทำ Security ให้กับ คน (people) , กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ด้วย

                1. คน (people)
                ถ้าคนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย(Security) จะนำพามาซึ่งความเสียง (Risk) ในทางตรงข้ามถ้ามีการให้ความรู้ความเข้าใจจะทำให้มีความเสี่ยงลดลง ตัวอย่าง การทำ Social Engineering เป็นการเก็บข้อมูลแบบไม่ต้องใช้ Software โดยการหลอกถามข้อมูลจากคนใน โทรสอบถามจาก call center ,เดินไปถาม security guard (ลุงยาม) ทำให้เกิด ช่องโหว่หรือจุดอ่อน(Vulnerability) อันเนื่องมาจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคลากรภายในองค์กรหรือโดยพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณีต่างๆก็ตาม ก็อาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยได้เช่นกัน

                2. กระบวนการ (Process)
                องค์กรทุกๆ องค์กรมีความต้องในการเก็บสารสนเทศที่ต่างกันออกไปซึ่งสารสนเทศต่างๆเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร เพื่อไม่ให้สารสนเทศเกิดความเสี่ยงจะต้องมีการดำเนินการทำนโยบายความปลอดภัย (Security Policies)ให้กับองค์กร ถ้าไม่มีนโยบายก็จะไม่มีแผนสำหรับองค์กรที่จะทำให้การรักษาความปลอดภัยขององค์กรมีประสิทธิภาพได้  ในนโยบายรักษาความปลอดภัยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งได้รับทราบเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบ แนวทางปฏิบัติในการควบคุมความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะต้องมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติในการจัดทำนโยบาย รายละเอียดของนโยบาย และการปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งนโยบายความปลอดภัย (Security Policies) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นลักษณะของเอกสาร ในการทำเรื่องเกี่ยวกับนโยบายความปลอดภัยนั้นการป้องกันบุคคลภายนอกองค์กรยังไม่น่ากลัวเท่าการป้องกันบุคคลภายในองค์กร (back door) เพราะว่าบุคคลภายในองค์กรนั้นสามารถที่จะเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ
               
                 3. เทคโนโลยี (Technology)
                ในส่วนของเรื่องเทคโนโลยีกับความปลอดภัยนั้น การออกแบบ Infrastructure ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงให้มีความสามารถในการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ (New Technology) ให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายๆอย่างเช่นกัน ซึ่งในส่วนที่ว่าทำไมต้องทำความปลอดภัยให้กับเทคโนโลยีนั้นก็เนื่องมาจากการที่เรานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ แต่ขาดการคอนฟิก (Configuration) การทำปิดช่องโหว่ (Hardening) หรือติดตั้งที่ไม่ถูกต้องให้มีความปลอดภัย ก็อาจจะไม่มีประโยชน์อะไร ซึ่งไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมที่เป็นอยู่ ในการทำเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้มีความปลอดภัย (Security) จะต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมีความรู้และมีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยเฉพาะในการทำงาน

-------------------------การบ้านวิชา Security -----------------------------

13 December 2011

how to install Gnome3 on Ubuntu 11.10

ในการติดตั้ง Ubuntu 11.10 ครั้งแรก มา GUI เราจะยังไม่เป็น Gnome 3 นะครับ ดูได้จาก ตอน Login ครั้งแรกเมื่อเปิดเครื่องเข้ามาครับ ตรงรูป ฟันเพื่อง จะมีแค่ Ubuntu , Ubuntu 2D เกิดอยากลอง
 ไปที่ Terminal (Ctrl+Alt+T)



sudo add-apt-repository ppa:gnome3-team/gnome3
sudo apt-get update
sudo apt-get dist-upgrade
sudo apt-get install gnome-session
sudo apt-get dist-upgrade
sudo apt-get upgrade
sudo apt-get install gnome-shell
sudo apt-get install gnome-tweak-tool  //tools ปรับแต่ง

  จากนั้นก็ logout ออกไป เข้า Gnome 3 ได้เลยครับพี่น้อง.......

ถ้าต้องการ Uninstall   ถอด Gnome3 ออก
ก่อนอื่นลง tools ppa-purge เพื่อเป็น tools ถอดออก

sudo apt-get install ppa-purge
sudo ppa-purge ppa:gnome3-team/gnome3

how to install Ubuntu 11.10 Apt-get Update GPG Key Errors and Fix

พอลง Utuntu เสร้จ จะ apt-get update ซะหน่อยดัน ติด error!! 5555

The following signatures were invalid: XXXXXXXXXXXX Ubuntu Archive Automatic Signing Key <ftpmaster@ubuntu.com>


เราต้องมา add key ข้างล่างก่อนครับ เปิด Terminal ขึ้นมา แล้วก็จัดการ ซะนะ จากนั้นก็จะสามารถ 
apt-get update
apt-get upgrade ได้แล้วครับ


W: GPG error: http://extras.ubuntu.com oneiric Release: The following signatures                                           couldn't be verified because the public key is not available: NO_PUBKEY xxxxxxxx



key ::> xxxxxxxxxxxxx
gpg --keyserver pgpkeys.mit.edu --recv-key  010908312D230C5F    <====== key
gpg -a --export 010908312D230C5F | sudo apt-key add -
เหตุผลของการ addkey https://help.ubuntu.com/community/SecureApt

11 December 2011

how to install tools for Ubuntu 11.10 essential

gconf-editor in Ubuntu 11.10  หายไปไหน!!!!! ครับ ไม่เป็นไร ลงใหม่

sudo apt-get install gconf-editor

แล้วจัดไปตามใจเลยครับ อยากปรับแต่งอะไร ก็ว่ากันไป

จากนั้น ใครที่ใช้ vi จะต้อง upgrade กันซะหน่อย ตัวเก่าที่มาไม่work เท่าที่ควร นะครับ^^

sudo apt-get install vim
แค่นี้ก็ได้ editor  version ใหม่ ใช้ง่ายมาใช้แล้ว


 แล้วก็ต่อด้วย ติดตั้ง Gnome3 

tools อีกตัวที่ใช้ เวลาจะเอาโปรแกรมจาก ทาง windows มา Run on Ubuntu ก็คือ wine

sudo apt-get install wine


6 December 2011

reset password root mysql

1.stop mysql ไปที่ contol panel > service >mysql กด stop
2.ไปที่ run พิมพ์ cmd >กด enter
3.พิมพ์ cd\
4.พิมพ์ cd appserv\mysql\bin กด enter


หมายเหตุ ที่เก็บ mysql จะแตกต่างกันแล้วแต่ว่าท่านเลือกใช้ web server ตัวใด
5.พิมพ์ mysqld-nt -u root --skip-grant-tables กด enter

ให้เปิดหน้าต่าง command อีกหน้าต่าง หน้าต่างเดิมไม่ต้องปิด โดย

ไปที่ run พิมพ์ cmd >กด enter
1.พิมพ์ cd\
2.พิมพ์ cd appserv\mysql\bin กด enter
หมายเหตุ ที่เก็บ mysql จะแตกต่างกันแล้วแต่ว่าท่านเลือกใช้ web server ตัวใด
3.พิมพ์ mysql กด enter
4.พิมพ์ use mysql
5.พิมพ์ UPDATE user SET Password = PASSWORD('NEW_PASSWORD') WHERE User = 'root'; กด enter
6. พิมพ์ flush privileges;
7. พิมพ์ exit;

ทำการ stop mysql และ Start แบบ mode ปกติ

หมายเหตุ NEW_PASSWORD คือ พาสเวิร์ดใหม่ที่เราต้องการใส่เป็นอะไรก็ได้

แก้ไวรัส shurtcut จงหายไปเถอะ!!

เหตุการณ์ต่อ :::::>> รุ่นพี่ เอา HDD มาให้ บอกโดนไวรัส แก้ไวรัส shurtcut ให้หน่อย เปิดมา ก็ไม่เห็นอะไร เลยสาด!! เปิด hidden ที่ Folder Option แล้วก็ไม่เจอ 5555+

ทางสุดท้ายก็คือ เปิด cmd ขึ้นมา ไปที่ HDD รุ่นพี่ แล้วพิมพ์  dir /ah   ปั๊บ........ 555+ เจอจนได้

ได้เขียน .bat ขึ้นมาเพื่อแก้ Attribute Folder ดังนี้


@echo off
set target=H:\ (drive รุ่นพี่ผม)
for /F "tokens=*" %%* in ('dir /b /ad "%Target%"') do attrib -h -r -s "%target%%%*"

แล้ว Save เป็น .bat แล้ว Run ก็จบแล้วครับ สำบายดีพี่น้อง ชาว IT อิอิ ^^........^^