15 December 2011

DNS Information

DNS Information ในส่วนของ DNS Record Type มีดังนี้
ในกรณีที่ใช้  nslookup
Record SOA ( Start of Authority)  ใช้คำสั่ง Set type=soa
                จะเป็นแบบ 4 คอลัมน์ และเป็นข้อมูลส่วนแรกที่กำหนดการทำงานของเนมเซอร์ฟเวอร์ อย่างเช่นจะได้ผลออกมาดังนี้

ru.ac.th

        primary name server = runs1.ru.ac.th
        responsible mail addr = preecha.ram1.ru.ac.th
        serial  = 2011120710
        refresh = 3600 (1 hour)
        retry   = 900 (15 mins)
        expire  = 1209600 (14 days)
        default TTL = 43200 (12 hours)
runs1.ru.ac.th internet address = 202.41.160.111




ซึ่งจะเห็นว่า มีเรคอร์ดกำหนดชื่อโดเมน ru.ac.th และให้ชื่อเนมเซอร์ฟเวอร์(primary name server)คือ runs1.ru.ac.th โดยมีอีเมลล์ของผู้ดูแลระบบ(responsible mail addr)คือ preecha@ram1.ru.ac.th (DNS จะแปลงจุดที่ตำแหน่งแรกเป็น “@”)
ในส่วนต่อมาเป็นระยะเวลาที่กำหนดว่าเนมเซอร์ฟเวอร์นี้กับสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์และเนมเซอร์ฟเวอร์อื่นนอกโซนจะมีช่วงจังหวะการทำงานร่วมกันเท่าไร เพื่อให้ข้อมูลที่ให้บริการมีการอัพเดตการเปลี่ยนแปลง ค่าทั้งหมดประกอบด้วยเลข 5 ชุด
serial  = 2011120710
                                                                
ค่าแรกเป็นเลขลำดับ ( Serial number )แปลงจุดที่ตำแหน่งแรกเป็น ือ ่กำหนดการทำงานของเนมเซอร์ฟเวอร์ อย่างเช่น
 ซึ่งใช้กำหนดรุ่นของฐานข้อมูล เลขที่มากจะแสดงถึงฐานข้อมูลที่ปรับปรุงครั้งหลัง ทั้งมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะมีค่าเลขนี้ประจำตัว หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์พบว่าเลขลำดับในมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์มากกว่าเลขลำดับของตนเอง แสดงว่ามีการปรับปรุงข้อมูลที่มาสเตอร์ สเลฟก็จะต้องถ่ายโอนข้อมูลใหม่ไป
ตัวเลขลำดับเป็นเลขชนิดไม่มีเครื่องหมายขนาด 32 บิต เริ่มต้นได้จาก 0 ผู้ดูแลระบบจะต้องปรับเลขลำดับเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ปรับปรุงข้อมูล มิฉะนั้นสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะไม่อ่านค่าจากมาสเตอร์เนมเซอร์ฟ เวอร์ การปรับค่าอาจเพิ่มขึ้นครั้งละเท่าใดก็ได้ตามความเหมาะสม แต่เทคนิคที่นิยมใช้คือใช้รหัส ปี-เดือน-วัน- รุ่น เป็นเลขลำดับ เช่นจากตัวอย่างคือ 2011120710 หมายถึงปรับปรุงครั้งที่ 10 ของวันที่ 07/12/2011

  refresh = 3600 (1 hour)

ค่า Refresh ใช้กำหนดว่าสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์จะต้องกลับมาอ่านข้อมูลจากมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเซอร์เพื่อปรับข้อมูลของตัวเองบ่อยเพียงใด ตัวเลขมีหน่วยเป็นวินาที ในกรณีนี้คือ 3600 วินาทีหรือ 1 ชั่วโมงนั้นเอง

 retry   = 900 (15 mins)

ค่า retry หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์ได้ตามที่กำหนดโดยค่า Refresh แล้ว ให้สเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์พยายามทุกๆ Retry วินาที เช่นตัวอย่าง พยายามติดต่อทุกๆ 15 นาที

expire  = 1209600 (14 days)


ค่า expire หากสเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อมาสเตอร์เนมเซอร์ฟเวอร์เป็นระยะเวลา expire วินาที สเลฟเนมเซอร์ฟเวอร์ต้องถือว่าข้อมูลที่มีอยู่หมดอายุลง เนมเซอร์ฟเวอร์จะไม่ให้บริการข้อมูลที่หมดอายุออกไปภายนอก


 default TTL = 43200 (12 hours)

ค่า TTL (Time to Live ) เป็นการกำหนดค่าเซอร์ฟเวอร์ใดที่ได้รับบริการข้อมูลไปแล้ว ให้รักษาไว้ตามค่า TTL และจึงยกเลิกข้อมูลนั้น ดังตัวอย่างก็ 12 ชั่วโมงนะครับ

runs1.ru.ac.th internet address = 202.41.160.111


เป็นการบอกชื่อของเนมเซอร์ฟเวอร์และก็ IP Address ของเซอร์ฟเวอร์

Record NS ใช้คำสั่ง Set type=ns
                เรคอร์ดนี้ใช้กำหนดชื่อเซอร์ฟเวอร์ซึ่งมีสองเครื่องอย่างเช่นว่า ผลลัพธ์มีการแสดงดังนี้

ru.ac.th        nameserver = runs2.ru.ac.th
ru.ac.th        nameserver = runs1.ru.ac.th

Record MX  ใช้คำสั่ง Set type = mx
                เรคอร์ดนี้ใช้กำหนดชื่อเซอร์ฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนอีเมล (mail exchanger) จากตัวอย่างการแสดงผลลัพธ์ต่อไปนี้
      
ku.ac.th        MX preference = 10, mail exchanger = mailgw2.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 20, mail exchanger = mailgw3.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 30, mail exchanger = nontri.ku.ac.th
ku.ac.th        MX preference = 5, mail exchanger = mailgw1.ku.ac.th

     หมายถึงโฮสต์ทั้งหมดนี้ที่แสดงออกมา จะทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งเมลล์ประจำโดเมน  ตัวเลขที่กำกับว่า MX preference = XX จะเป็นค่าความสำคัญ เลขยิ่งน้อยจะมีลำดับความสำคัญมากว่าเลขเยอะ ค่าลำดับความสำคัญจะมีค่ามากสุดคือค่า 0  ดังนั้นโฮสต์ mailgw1.ku.ac.th จะเป็นเครื่องหลักที่ให้บริการแลกเปลี่ยนเมลล์เป็นอันดับแรก หากไม่สามารถขอบริการจาก mailgw1.ku.ac.th ให้ติดต่อ mailgw2.ku.ac.th เป็นลำดับต่อไปเรื่อยๆตามลำดับความสำคัญ ค่าลำดับความสำคัญของโฮสต์นั้นเป็นค่าแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นถ้ากำหนดให้ ค่าความสำคัญระหว่าง mailgw2.ku.ac.th เป็น 10 และ mailgw3.ku.ac.th เป็น 20 จะไม่แตกกับการกำหนดให้ เป็น 1 และ 2 เป็นต้น

Record A  ใช้คำสั่ง Set type = a
                เรคอร์ด A (Address) ใช้กำหนด IP Address ประจำโฮสต์ จากตัวอย่างเช่นการกำหนดใน File Config ในเครื่อง DNS Server นะครับ

eng.ru.ac.th        IN           A             202.41.164.196
ku.ac.th             IN           A             158.108.216.5
www.ru.ac.th      IN           A             202.41.160.22


Record HINFO  
                
เรคอร์ด HINFO ( host information) ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับโฮสต์นั้นโดยแยกออกเป็นสองฟิลด์ย่อย ผู้ดูแลเซอร์ฟเวอร์อาจใส่ชนิดของเครื่องและระบบปฏิบัติการที่ใช้งานภายใต้ฟันหนูปิดหัวท้ายทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น

IN           HINFO                  “SPARC 1000”                   “Solaris 2.5”

                เนื่องจากฟิลด์ซ้ายสุดในเรคอร์ดนี้ไม่ได้กำหนดชื่อโฮสต์ เซอร์ฟเวอร์จะตีความหมายโดยอาศัยชื่อจากเรคอร์ดติดกันที่อยู่ด้านบนอย่างเช่น

ku.ac.th                 IN           A             202158.108.216.5
                            IN           HINFO  “SPARC 1000”                   “Solaris 2.5”

Record CNAME
                เรคอร์ด CNAME ( Canonical Name) เป็น Record ประเภทชื่อเสมือน Alias Record  ปกติแล้ว CNAME จะถูกใช้ในการสร้าง SubDomain ใน Server เครื่องหนึ่งๆ อาจจะทำหน้าที่อย่างเช่น เป็น Web Server ด้วยเป็น FTP Server ด้วยและเป็น Mail Server ด้วยเช่นนี้ การกำหนดชื่อและหลายเลข IP ก็จะต้องทำหลายบรรทัด หากเปลี่ยนหมายเลข IP Server  ก็ต้องเปลี่ยนชื่อใน DNS ให้ตรงกับเครื่องใหม่ ในกรณีนี้จะเห็นประโยชน์ของ CNAME Record ทันทีตัวอย่างเช่น domain strumjub.com

   www.strumjub.com.           IN           A             172.16.1.1
   ftp.strumjub.com               IN           A             172.16.1.1
   mail.strumjub.com             IN           A             172.16.1.1
   ns1.strumjub.com              IN           A             172.16.1.1

แต่ถ้าใช้ CNAME จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากขึ้น
server1.strumjub.com       IN           A             172.16.1.1
www.strumjub.com.         IN           CNAME               server1.strumjub.com
ftp.strumjub.com               IN           CNAME               server1.strumjub.com
mail.strumjub.com            IN           CNAME               server1.strumjub.com
ns1.strumjub.com              IN           CNAME               server1.strumjub.com
จากข้างต้นเมื่อเราต้องการเปลี่ยน IP Server ก็เปลี่ยนแค่จุดเดียวเท่านั้น

Record PTR
                เป็นเรคอร์ดที่ใช้ในแฟ้มที่ใช้เก็บข้อมูลการแปลงจากไอพีไปเป็นชื่อโดเมน โดยมีโครงสร้างอื่นทั่วไปคล้ายกับเรคอร์ดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
        202.41.164.196  IN           PTR       eng.ru.ac.th
158.108.216.5     IN           PTR       ku.ac.th
202.41.160.22     IN           PTR       www.ru.ac.th


Record RP (The Responsible Person record)
                เป็นเรคอร์ดที่บันทึกข้อมูลของบุคคลที่รับผิดชอบ ระบุชื่อหรือกลุ่มของผู้รับผิดชอบสำหรับโฮสต์ กำหนดไว้เพื่อที่จะสามารถระบุองค์กรที่รับผิดชอบในโฮสต์ เมื่อเกิดกรณีที่โฮสต์มีปัญหาหรือชำรุด ซึ่งเอาเรคอร์ดนี้มาดูเพื่อที่ต้องการติดต่อกับบุคคลหรือกลุ่มผู้รับผิดชอบเพื่อให้สามารถมาแก้ปัญหานี้ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้
owner    {ttl}   addr-class    RP  mbox-domain-name   TXT-domain-name
franklin    IN     RP   ben.franklin.berkeley.edu.   sysadmins.berkeley.edu.

Record SRV (Service record)
                เป็นเรคอร์ดที่เป็นการบันทึกการให้บริการ เป็นข้อกำหนดของใน ระบบชื่อโดเมน ที่กำหนดสถานที่เช่น ชื่อ host และ หมายเลขพอร์ต ของเซิร์ฟเวอร์สำหรับการให้บริการที่ระบุไว้  ที่กำหนดจากมาตรฐาน RFC 2782 โดยมี code type เป็น 33  โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Session Initiation Protocol (SIP)  และ  Extensible Messaging and Presence Protocol  Presence (XMPP)   ซึ่งในระบบนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจาก SRV เป็นองค์ประกอบของเครืยข่าย

No comments:

Post a Comment