ตัวอย่างที่ 2
สรุปกระบวนการของ Spanning Tree Protocol ดังนี้
1. Selecting Root Bridge : Bridge ID = Bridge Priority + Mac Address
1.1 Bridge Priority เท่ากันทุกตัว Bridge ID Priority = Bridge Priority+VLANID
Bridge Priority= 32768 (2^15)
VLAN ID = 10
Bridge ID Priority = 32768+10 = 32778
Note: STP ต่อ VLAN
1.2 Mac address
090.2BD3.1E18< 00D0.BC1B.9B88 < 00D0.FFE3.5895
Root Bridge = 0090.2BD3.1E18 (Switch1)
2. Selecting Root Port ( พอร์ตที่มีเส้นทางไปยังพอร์ต Root Bridge ที่มี Root path Cost น้อยที่สุด มีการกำหนดค่าตามมาตรฐานจาก IEEE )
ค่า Root Path Cost (Cumulative path cost) คือผลร่วมจาก Root Bridge Port (Port เริ่มต้น มีค่าเป็น 0 เพราะต่อโดยตรงกับ Root Bridge) ไปถึง Port บน Switch นั้นๆ
บน Multilayer Switch0
พิจารณา Root Port จาก Root Path Cost
Gig0/1 มี Root Path Cost = 23
เส้นทาง = Fa0/24 บน Root Bridge (0) > Gig1/1 บน Switch0 (+19) > Gig0/1 บน Multilayer Switch0 (+4) = 23 (0+19+4)
Gig0/2 มี Root Path Cost = 4
เส้นทาง =Gig1/1 บน Root Bridge (0) > Gig0/2 บน Multilayer Switch0 (+4) =4 (0+4)
บน Switch0
พิจารณา Root Port จาก Root Path Cost
Fa0/24 มี Root Path Cost = 19
เส้นทาง = Fa0/24 บน Root Bridge (0) > Gig1/1 บน Switch0 (+19) =19 (0+19) \
Gig1/1 มี Root Path Cost = 8
เส้นทาง = Gig1/1 บน Root Bridge (0) > Gig0/2 บน Multilayer Switch0 (+4) > Gig1/1 บน Switch0 (+4) = 8 (0+4+4)
Root Port บน Multilayer Switch0 คือ Gig0/2 , บน Switch0 คือ Gig1/1 เพราะว่าค่า Cost ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ port ทั้งหมดบน Switch นั้นๆ
3. Selecting Designated Port แต่ละ Segment (การพิจารณาว่าพอร์ตไหนมี Root Path Cost ที่ดีกว่า เพราะว่าจะแสดงถึงความเร็วในการส่งข้อมูลมาถึง Root Bridge เมื่อเทียบกับพอร์ตอื่นๆ ใน Segment เดียวกัน เพียง Port เดียวเท่านั้น )
Note: กรณีนี้มีการเชื่อมต่อของ Switch ที่มีทั้ง FastEthernet และ GigabitEthernet ซึ่งมีกฎเพิ่มเติมในการเลือก Designated Port อยู่ 2 อย่าง โดยจะต้องผ่านการเลือก Root Bridge และ Root Port มาก่อนแล้ว ดังนี้
1. ถ้าหาก Segment หรือ Connection ระหว่าง Switch มี Port ที่ได้รับการเซตให้เป็น Designated Port อยู่แล้ว พอร์ตนั้นๆ จะทำหน้าที่เป็น Designated Port ไปเลยโดยไม่ต้องมีการแข่งขันกันกับพอร์ตของ Swtich ตัวอื่นๆ เช่น พอร์ตบน Root Bridge ทุกพอร์ตจะถูกเซตให้เป็น Designated Port อยู่แล้ว โดยที่พอร์ตของ Switch ตัวอื่นบน Segment หรือ Connection นั้น จะไม่สามารถเป็น Designated Port โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็น Root Port อยู่ก่อน หรือ ถ้าไม่ได้เป็น Root Port ก็จะมีสถานะเป็น Blocking state
2. บน Segment หรือ Connection ระหว่าง Switch 2 ตัว หากมีพอร์ตของ Switch ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Root Port อยู่แล้ว พอร์ตของ Switch อีกตัวหนึ่งที่เหลือจะได้รับการเลือกให้เป็น Designated port โดยอัตโนมัติ
ซึ่งมาจากบทความ Spanning Tree Protocol ภาค 1
บน Segment 1 :
พอร์ตของ Root Bridge คือ พอร์ต Fa0/24 ทำหน้าที่เป็น Designated Port ของ Segment 1 โดยปกติอยู่แล้วทำให้ Port Connection พอร์ต Fa0/24 บน Switch0 ทำงานในสถานะ Blocking state ตามกฎข้อ 1
บน Segment 2 :
พอร์ต Gig1/1 บน Switch0 ทำหน้าที่เป็น Root Port อยู่แล้ว ซึ่งทำให้ Port Gig0/1 บน Multilayer Switch0 ที่เชื่อมต่ออยู่นั้นกลายเป็น Designated Port ของ Segment โดยปริยายตามกฎข้อ 2
Designated Port คือ
Fa0/24 , Gig1/1 บน Root Bridge
Gig0/1 บน Multilayer Switch0
4. Selecting Blocking Port (เป็น Port ที่นอกเหนือจากการถูกเลือกให้เป็น Root Port และ Designated Port )
Fa0/24 บน Switch0 ทำงานในสถานะ Blocking state
ถ้าต้องการศึกษา Configuration โหลดจากที่นี้ได้ครับ
Download File STP_Ex02.pkt
ผมใช้ Cisco Packet Tracer v5.3.3
Good lock ...... strumjub.
Download File STP_Ex02.pkt
ผมใช้ Cisco Packet Tracer v5.3.3
Good lock ...... strumjub.
No comments:
Post a Comment