กรณีผมใช้ VMware ในการ Testing นะครับผมขอละการ Set VMware นะครับ^^! ทุกท่านๆๆ คงเคยเล่นมาแล้วจะแบ่งทรัพยากรยังไงก็สุดแล้วแต่ใจคิดเลยแล้วกันครับ
จากรูปเมื่อทำการตั้งค่าให้ Boot ไปที่ CD แล้วจะมีหน้า GUI ของ Linux Openfiler โดยจะให้เลือกระหว่างการติดตั้งแบบ 2 แบบคือ แบบ Graphical Mode ด้วยการกด Enter ที่คีย์บอร์ด หรือ แบบ Text Mode ด้วยการพิมพ์ “linux text” แล้วกด Enter ที่คีย์บอร์ด ในกรณีนี้ข้าพเจ้าได้เลือกติดตั้งด้วยแบบ Graphical Mode แล้วกด Enter จะมีหน้า GUI ขึ้นมายินดีต้อนรับตรงนี้จะเป็นลักษณะการอธิบายรายละเอียดต่างๆ โดยตรงนี้ให้กด Next ต่อไป
หน้านี้จะเป็นการตั้งค่า Keyboard Configuration โดยให้เลือกที่ United Kingdom แล้วกดที่ปุ่ม Next ต่อไป
หลังจาก Next จะมีหน้าต่าง Disk Partitioning Setup โดยจะมีการตั้งค่าของการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ไว้ 2 แบบคือ แบบ Automatically Partition (ระบบจะจัดสรรทรัพยากรฮาร์ดดิสก์ให้เอง) กับ Manually Partition with Disk Druid (ต้องจัดสรรทรัพยากรฮาร์ดดิสก์ให้เอง)
หน้าต่างนี้จะเป็น การตั้งค่า Disk Setup กรณีข้าพเจ้าได้ทำการ จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์จากซอฟต์แวร์ Virtualization โดยตรงนี้ข้าพเจ้าแบ่งพื้นที่ให้ 2.1 GB โดยประมาณ ดังนั้นต้องจัดการกับพื้นในฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้ Linux Openfiler v2.3 ในการจัดสรรระบบต่างๆ
กำหนดการจัดสรรพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ดังนี้
1. “/boot” ส่วนนี้เป็นการกำหนดพื้นที่ให้ส่วนที่เป็นเคอร์เนล(Kernal) อยู่และระบบจะบูต(boot) ระบบจากพื้นที่ตรงนี้
2. “swap” ส่วนนี้เป็นสวอป (swap) ของระบบซึ่งจะทำหน้าที่ในการช่วยในระบบเก็บโปรเซสที่นอกเหนือจากหน่วยความจำสำรองเก็บโดยสลับกันไปมา
3. “/” ส่วนนี้เป็นพื้นที่ System root โดยที่โปรแกรมต่างๆของระบบและไลบารี่จะถูกติดตั้งในส่วนนี้
การสร้าง /boot พาร์ทิชัน
โดยการกดปุ่ม New แล้วจะมีหน้าต่าง Add Partition แล้วกำหนดค่าดังนี้
Mount Point : /boot
Filesystem Type : ext3
Allowable Drives : ตรงนี้ให้เลือกส่วนของดิสก์แรกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น IDE(hda) หรือ SCSI(sda)
Size(MB) : 100 (หน่วยมีขนาดเป็นเมกะไบต์)
Additional Size Options : Fixed size
Force to be a primary partition : checked (เป็นการเลือกให้เป็นพาร์ทิชันหลักหรือ Primary )
หลังจากตั้งค่าตามที่ได้กล่าวมาก็ให้กดปุ่ม OK ดังภาพการสร้าง “/” พาร์ทิชัน
โดยการกดปุ่ม New แล้วจะมีหน้าต่าง Add Partition แล้วกำหนดค่าดังนี้
Mount Point : /
Filesystem Type : ext3
Allowable Drives : ตรงนี้ให้เลือกส่วนของดิสก์แรกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น IDE(hda) หรือ SCSI(sda)
Size(MB) : 2048 (เป็นส่วนของการเก็บโปรแกรมของระบบจะต้องให้พื้นที่เยอะเพื่อเก็บข้อมูล )
Additional Size Options : Fill to maximum allowable size
อธิบายในส่วนของการเลือกของ Additional Size Options : เพิ่มเติม คือ
1. Fixed size (ขนาดคงที่) เป็นการกำหนดให้พาร์ทิชันที่จะสร้างมีขนาดตามที่ท่านกำหนด
2. Fill all space up to (MB) (ขยายพื้นที่จนได้ขนาด) คือกำหนดให้สร้างพาร์ทิชันให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่กำหนดถ้าพื้นที่ไม่พอก็ให้ใหญ่สุดท่าที่จะเป็นไปได้แต่ถ้าพื้นที่มากเกินไปก็ให้สร้างเท่าที่กำหนดไว้
3. Fill to maximum allowable size (ขยายพื้นที่จนใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้) คือกำหนดให้สร้างพาร์ทิชันใหญ่เต็มพื้นที่ในส่วนที่ว่างเหลืออยู่
Force to be a primary partition : checked (เป็นการเลือกให้เป็นพาร์ทิชันหลักหรือ Primary )
หลังจากตั้งค่าตามที่ได้กล่าวมาก็ให้กดปุ่ม OK ดังภาพ
การสร้าง swap พาร์ทิชัน
โดยการกดปุ่ม New แล้วจะมีหน้าต่าง Add Partition แล้วกำหนดค่าดังนี้
Filesystem Type : swap
Allowable Drives : ตรงนี้ให้เลือกส่วนของดิสก์แรกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น IDE(hda) หรือ SCSI(sda)
Size(MB) : 512 (หน่วยมีขนาดเป็นเมกะไบต์)
ในการกำหนดขนาดของพาร์ทิชันสวอป (swap partition) ต้องดูที่หน่วยความจำสำรอง(RAM) เครื่องมีเท่าไรตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องมีหน่วยความจำสำรอง (RAM) ขนาด 2 GB ให้กำหนดพื้นที่พาร์ทิชันสวอป (swap partition) มีขนาด 4 GB แต่ถ้าเครื่องมีหน่วยความจำสำรอง (RAM) ขนาด 4 GB ให้กำหนดพื้นที่พาร์ทิชันสวอป (swap partition) มีขนาด 6 GB จะ
Additional Size Options : Fixed size
Force to be a primary partition : checked (เป็นการเลือกให้เป็นพาร์ทิชันหลักหรือ Primary )
หลังจากตั้งค่าตามที่ได้กล่าวมาก็ให้กดปุ่ม OK ดังภาพหลังจากตั้งค่าไว้เสร็จก็ทำการกดปุ่ม Next ต่อไป
ต่อไปเป็นการตั้งค่าของ Network Configuration
ในการกำหนดค่าอุปกรณ์ของเครือข่ายระบบชื่อโฮสต์และพารามิเตอร์ DNS ซึ่งควรต้องกำหนดการ์ดเชื่อมต่ออย่างน้อยหนึ่งการ์ดเพื่อใช้ในการติดต่อกับหน้าอินเตอร์เฟสของ Openfiler เป็นตัวจัดการระบบ จะตั้งค่าเป็น Static IP หรือ DHCP ก็ได้ รูปภาพข้างเป็นการกำหนดแบบ manually (Set Static) ในที่นี้มี 1 การ์ดการเชื่อมต่อชื่อ eth0 สามารถที่จะตั้งค่าได้โดยกดปุ่ม Edit แล้วจะมีหน้าต่าง Edit Interface eth0 ขึ้นมาให้กำหนดค่าตามรูปดังนี้
เมื่อกำหนดเสร็จให้กดปุ่ม OK จะกลับมาหน้าต่าง Network Configuration โดยไปตั้งค่า Hostname ซึ่งตรงนี้เป็นกำหนดชื่อของเครื่องหรือการ Join Domain นั้นเอง และการตั้งค่าในส่วนของ Miscellaneous Setting ในที่นี้เป็นลักษณะของการตั้งค่า Gateway , Primary DNS , Secondary DNS ,Tertiary DNS เป็นต้นเมื่อกำหนดเสร็จก็กดปุ่ม Next ดังนี้
หลังจากที่กด Next จะมีหน้าต่างให้เลือก Time Zone Selection ในการเลือกสามารถที่จะใช้เมาส์คลิกที่ ตำแหน่ง Bangkok บนแผนที่โลกได้และกดที่ปุ่ม Next ต่อไป
การตั้งค่า Password Root
ในหน้าต่างนี้เป็นการกำหนดรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ (Root) โดยในการกำหนดรหัสผ่านนี้จะต้องมีความปลอดภัยซึ่งควรที่จะเป็นลักษณะของตัวอักษรร่วมตัวเลขปนตัวอักขระพิเศษ เมื่อกำหนดเสร็จให้กดปุ่ม Next ต่อไปดังรูป
จะมีหน้าต่างยืนยันในการติดตั้งและการตั้งค่าต่างๆขึ้นมาสำหรับหน้านี้ถ้ายืนยันไปแล้วจะสามารถกลับไปก่อนหน้านี้ได้ เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วก็กดปุ่ม Next ต่อไป
เมื่อกดยืนยันเสร็จระบบก็จะดำเนินการตั้งค่าต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ แล้วเมื่อเสร็จจะให้ Reboot ระบบขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
สำหรับการติดตั้งก็เสร็จเรียบร้อยแล้วระบบการทำการเริ่มใหม่แล้วจะมีการเปิด Service ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในระบบของ Linux Openfiler v2.3 ที่สำคัญคือจะมีหน้าอินเตอร์เฟสเว็บไซต์ให้สามารถจักการกับระบบได้ ดังรูปภาพด้านล่าง
จากหน้าระบบจะแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดว่ามีการให้บริการอย่างไรบ้างที่ต้องสังเกตคือตรงที่หัวข้อ Web administrator GUI : https://192.168.146.133:446/ ตรงนี้จะเป็นส่วนที่ให้เข้าไปจัดการระบบต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือเข้าระบบผ่านหน้า Command line ก็ได้เช่นกัน
เป็นการเข้าไปจัดการระบบ Openfiler v2.3 ผ่าน Web Browser โดยใส่ URL เป็น https://192.168.146.133:446/ แล้วใส่ Username : openfiler , Password : password
จากตรงนี้ก็สำเร็จไปอีกขั้นหนึ่งแล้วครับ ^^ ง่ายไหม โปรดติดตามตอนต่อไป ในเรื่องของการจัดการเกี่ยวกับ iSCSI Target ใน Linux Openfiler v2.3 นะครับ ^^!
เหนื่อยเหมือนกันนะเนี้ย ทำเอกสารเนี้ย T___T!!!!!
No comments:
Post a Comment