จากหน้าระบบจะแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดว่ามีการให้บริการอย่างไรบ้างที่ต้องสังเกตคือตรงที่หัวข้อ Web administrator GUI : https://192.168.146.133:446/ ตรงนี้จะเป็นส่วนที่ให้เข้าไปจัดการระบบต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือเข้าระบบผ่านหน้า Command line ก็ได้เช่นกัน หลังจากที่ติดตั้งเสร็จให้ทำการปิดระบบปฏิบัติ Openfiler ก่อน ในการศึกษาโพรโตคอล iSCSI นี้ข้าพเจ้าจะทำการเพิ่มฮาร์ดดิสสกัสซี่ (SCSI Hard disk ) ขนาด 10GB ซึ่งเราสามารถที่จะจัดการบริหารทรัพยากรจากพื้นที่ตรงนี้ได้โดยผ่านทาง Web administrator GUI ของทาง Openfiler ในกรณีนี้ข้าพเจ้าได้ใช้ VMware ในการจำลองการทำงานระบบของ Openfiler โดยมีวิธีการดังนี้
ให้ทำการเปิดหน้าโปรแกรม VMware ขึ้นคลิกไปที่หน้า Machine ที่จำลอง Openfiler ไว้ให้คลิกที่กับ Edit virtual machine settings
หลังจากนั้นจะมีหน้าต่าง Virtual Machine Settings จะสังเกตเห็นว่าเครื่องมี Hard disk 8 GB 1 ลูก ให้ทำการคลิกที่ Add
เมื่อกด Add แล้วจะมีหน้าต่างAdd Hardware Wizard แล้วให้ใช้เมาส์คลิกที่ ไอเท็ม Hard Disk แล้วกดปุ่ม Next
เมื่อคลิกที่ Next แล้วจะเป็นหน้าต่างๆ ให้ Select a Disk Type ว่าจะเลือก Hard disk ที่เป็นชนิดใด ให้เลือกที่ SCSI (สกัสซี่) แล้วกดปุ่ม Next ต่อไป
เท่านี้เราก็ได้ Hard disk iSCSI มาแล้วจากนั้นให้ทำการเปิดระบบปฏิบัติการ Openfiler ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ต่อไปจะเป็นการไปตั้งค่าต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เฟสของ Openfiler โดยใช้ Browser ดังนี้
เป็นการเข้าไปจัดการระบบ Openfiler v2.3 ผ่าน Web Browser โดยใส่ URL เป็น https://192.168.146.133:446/ แล้วใส่ Username : openfiler , Password : password เป็นค่า Default ที่ตั้งค่ามากับระบบสามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง
เมื่อเราทำการเข้าสู่ระบบแล้วจะมีหน้าต่างแสดงสถานะต่างๆ ของเครื่องและระบบ ดังรูป
ก่อนอื่นให้ไปที่ Tab bar ที่ชื่อว่า Services แล้วไปที่ตาราง Managers Service ให้ไปที่หัวข้อ iSCSI target server ให้ Status เป็น Enabled เป็นการเปิดใช้ โพรโตคอล iSCSI ดังรูป
หลังจากนั้นให้ไปเลือกที่ Tab bar ที่ชื่อว่า Volumes แล้วไปคลิกที่ Create new physical volumes
จะปรากฏหน้า Block Device Management ขึ้นมาจะเห็นว่ามี /dev/sdb1 ขนาด 10 GB จากนั้นให้คลิกเลือกที่ /dev/sdb1
เมื่อทำการ Create เสร็จก็จะปรากฏหัวข้อด้านบน Edit partition in /dev/sdb ให้ใช้เมาส์คลิกที่ Add Volume จากรูปด้านล่าง
จากด้านบนจะได้หน้าต่างๆ Create a new volume group จากนั้นก็ตั้งค่าดังนี้
Volume group name (no spaces) : SAN (กำหนดชื่อของ Volume group ) , Select physical volumes to add (ให้เลือก HDD ที่ต้องการ) เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Add volume group เพื่อการสร้าง Volume group
ในการสร้าง Volume group นั้นสามารถที่จะเลือกในส่วนของ Select physical volumes to add ได้มากว่า 1 ก้อนฮาร์ดดิสก์ซึ่งระบบจะมองรวมกันเป็นกลุ่มๆ เหมือนกันทำ RIAD Hard disk ซึ่งสามารถที่จะเพิ่มเติมได้อีก
เมื่อกดปุ่ม Add volume group ก็จะมีหน้าต่างของ Volume Group Management ขึ้นมาก็จะมีรายละเอียดต่างๆ ที่ได้ตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถลบได้ดังรูป จากนั้นให้ใช้เมาส์ไป Volumes Section ให้เลือกที่ Add Volume
จะมีหน้าต่างในส่วนของ Create a volume in “san” ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ กรณีนี้จะทำการแบ่งพื้นที่ของ “san” ออกเป็น volumes ย่อยๆ จากการทดลองขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (volumes) คือ disk1 ขนาด 4096 MB, disk2 ขนาด 6112 MB วิธีการแบ่งจะกำหนดค่าดังรูปด้านล่างนี้
Volume Name : disk1 (การตั้งชื่อจะไม่มีการวรรค และไม่มีอักขระพิเศษใดๆ)
Volume Description : (ตรงนี้เป็นการอธิบายรายละเอียดอย่างสั้นๆ)
Required Space (MB) : 4096 (ใส่ขนาดที่ต้องการแบ่งแต่ละ Volume หน่วยเป็น MB )
Filesystem / Volume type : iSCSI (กรณีนี้ฮาร์ดดิสก์เป็นชนิด iSCSI)
เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เสร็จให้กดปุ่ม Create
จะปรากฏหน้าต่างของ Volumes in Volume group “san” จะแสดงค่าที่ได้กำหนดเป็น Volume ไว้ดังรูป
เมื่อเลือกที่ Add Volume ก็ทำการกำหนดค่าคล้ายกับข้างต้นดังภาพ
เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เสร็จสิ้นก็จะเป็นดังรูปด้านล่างนี้
ต่อไปจะเป็นการตั้งค่าของในส่วน Target และการทำ LUN Maping ระหว่าง Target กับตัว Volumes ที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้
ก่อนอื่นต้องเข้าไปกำหนดค่า iSCSI Targets ดังรูป
จากนั้นจะปรากฏในส่วนของ iSCSI Target ขึ้นมา ให้ทำการ Add new iSCSI Target
ซึ่งในส่วนของ Target IQN กำหนดเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้นจะเปลี่ยนเป็น ดังนี้
Iqn.2006-01.com.openfiler:disk1
Iqn.2006-01.com.openfiler:disk2
จากการเพิ่ม Target จะได้ดังนี้ ซึ่งมี 2 Target โดยเลือก Target ที่ต้องการแล้วสามารถเปลี่ยนค่าต่างๆ ได้โดยการกดปุ่ม Change ซึ่งข้อมูลต่างๆของ Target ก็จะไปแสดงที่ Setting for target : นั้นดังรูป
จากนั้นให้ตั้งค่า LUN Mapping เพื่อเป็นการกำหนดค่า Target แต่ละตัวให้ไป Map กับ volumes ที่ได้กำหนดค่าไว้ข้างต้น โดยการไปคลิกที่เลือก Target ที่ต้องการแล้วสามารถเปลี่ยนค่าต่างๆ ได้โดยการกดปุ่ม Change แล้วไปคลิกที่ LUN Mapping จะสังเกตเห็นว่า Target ที่ต้องการ Mapping นั้นยังไม่ได้ Mapping เลย ต่อไปให้ทำการ Map New LUN to Target สำหรับ Target ที่เลือกมาดังรูป
เมื่อเลือก Volumes ที่ต้องการ Map แล้วก็กดปุ่ม Map เสร็จแล้วก็จะได้ดังรูป
ระบบก็จะทำการ Mapping ให้แล้วก็จะแสดงผลว่าได้มีการ Mapping แล้ว ซึ่งสามารถที่จะยกเลิกโดยการกดปุ่ม Unmap ได้ ในกรณีของ disk2 ก็ทำเหมือนกันกับที่ได้กล่าวมาข้างได้ผลดังนี้
จากนั้นเป็นการทดลองเชื่อมต่อไปยัง Linux Openfiler v2.3 โดยการใช้ iSCSI initiator on Win 7
ไปที่ Administrative Tools แล้วคลิกที่ iSCSI Initiator
เมื่อเลือกที่ iSCSI Initiator แล้วจะปรากฏหน้าต่าง iSCSI Initiator Properties ขึ้นให้ดังรูป ให้กำหนดค่าโดย Target : (IP ของเครื่องที่เป็น Server Openfiler Target ครับ) จากนั้นให้กดปุ่ม Quick Connect…
จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลให้กด Done ไปก่อนแล้วก็จะกลับมาเดิมดังนี้ พร้อมทั้งแสดง Target ที่ได้กำหนดและตั้งค่าไว้ข้างต้น ดังรูป
จากรูปข้างบนสามารถเลือกในส่วนของ Discovered Targets ว่าจะเลือกเชื่อมต่อกับ Targets ที่ได้ทำการ Mapping ไว้แล้วโดยการเลือก Target เสร็จให้กดปุ่ม Connect ก็จะมีหน้าต่างให้เราตั้งค่าการเชื่อมต่อจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม OK ดังรูป
เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จให้ตรวจสอบโดยการไปที่ Computer Management ของ Windows 7 ก็จะมีเหมือนเป็น Hard Disk ลูกใหม่เพิ่มเข้ามา 2 ลูกดังรูป
เพียงเท่านี้ก็สามารถที่จะจัดการกับส่วนพื้นที่ใน Linux Openfiler ได้แล้ว เย้....... กว่าจะเสร็จ ^^! เวลาทำ..... ทำไมแป๊บเดียว เวลาทำเอกสารนานนะเนี้ย T____T!!!
No comments:
Post a Comment